Potato Corner ได้ออกมาขอโทษ หลังจากที่ทำโฆษณาที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับการจับกุมของ ‘โตโต้’ หัวหน้าการ์ด WeVo ที่ลานจอดรถห้างเมเจอร์รัชโยธิน เพจเฟซบุ๊ก Potato Corner Thailand เพจเฟซบุ๊กของร้านขายมันฝรั่งทอดชื่อดัง ได้ออกมาโพสต์ข้อความขอโทษ จากกรณีที่โพสต์ข้อความโฆษณาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม และมีเนื้อหาใกล้เคียงการจับกุมนาย ปิยรัฐ จงเทพ หรือ ‘โตโต้’ หัวหน้ากลุ่ม วีโว่ (WeVo) ที่ถูกจับกุมที่ลานจอดรถห้างเมเจอร์รัชโยธิน ในวันเดียวกัน จนเกิดเป็นกระแส #แบนPotatoCorner
โดยทางเพจระบุว่า “สืบเนื่องจากกรณีภาพโพสต์ที่ถูกวางโฆษณาบนสื่อเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2564 โปเตโต้ คอร์เนอร์ ประเทศไทย
ต้องขอกราบอภัยอย่างสูงสุดกับเหตุการณ์การลงโพสต์ที่เกิดจากความประมาท และผิดพลาดของทางทีมการตลาด อันนำมาสู่ความเข้าใจผิดอย่างมากในครั้งนี้ได้ ทันทีที่ทราบเรื่อง ทางแบรนด์รู้สึกตกใจและเสียใจ และถือว่าเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของบริษัทที่ได้เกิดขึ้น และได้เร่งสอบถามข้อมูลและเรื่องราวกับทางทีมการตลาดผู้ดูแลรับผิดชอบสื่อออนไลน์ ในฐานะผู้บรีฟสื่อและผู้ตั้งเวลาโพสต์ออนไลน์ทันที
ทั้งนี้ ทางเราขอชี้แจงสิ่งที่เกิดขึ้นโดยละเอียด ตามข้อความดังต่อไปนี้ โดยปกติทาง Potato Corner จะมีการวางแผนตาราง content ที่จะถูกโพสต์บนสื่อโซเชียลมีเดียอยู่แล้วเป็นรายเดือน ซึ่ง Content/ Facebook Ads ต่างๆ ที่จะถูกโพสต์ จะผ่านขั้นตอนในการบรีฟงานกราฟิกกับทางเอเยนซีผู้ผลิตสื่อ เพื่อทำกราฟิกในลำดับถัดไป
“น้องโตโต้” รวมถึงจากภาพในโพสต์ “น้องโตโต้” ที่เราได้เอ่ยถึง เป็นชื่อของแบรนด์มาสคอต ซึ่งทางแบรนด์ได้มีการเปิดตัวตั้งแต่ปลายปี 2562 ที่ผ่านมา และได้มีการใช้ชื่อนี้ในหลายๆ โพสต์ เป็นตัวกลางในการเล่าเรื่องต่างๆ ของแบรนด์ตลอดมา ทั้งนี้ โพสต์ที่กำลังถูกพูดถึงในวันนี้ ทางทีมที่คิดคอนเทนต์ขอยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาใด เพียงแต่เป็นความตั้งใจของทางผู้ดูแลคอนเทนต์ในการนำเสนอรูปแบบใหม่ๆ โดยได้ยึดธีมดู reference จากภาพๆ หนึ่งบนเว็บไซต์หนึ่ง (ตามภาพ) และอ้างอิงถึง เนื้อหาที่ต้องการสื่อ
คือ “ฟรายส์คลุกผงเจ้าแรกในไทย” เพียงเท่านั้น และมีการบรีฟงานให้กับทางเอเยนซีตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ทางอีเมล โดยหลังจากที่ได้รับกราฟิกจากทางเอเยนซีแล้ว ทางแบรนด์ได้ตั้งโพสต์นี้ให้ขึ้น Timeline ในวันที่ 7 มีนาคม 2564 เวลา 11.00 น. รวมถึงได้ตั้งค่าการโฆษณา (Facebook Ads.) ล่วงหน้าไว้ ใน 1 วันก่อนวันโพสต์ตามปกติของการลงสื่อออนไลน์ คือ วันที่ 6 มีนาคม 2564 ช่วงบ่าย
ทางแบรนด์ขอประกาศอีกครั้งว่า ทางแบรนด์ไม่ได้มีเจตนาอื่นใด และไม่ได้จงใจที่จะเสียดสี หรือล้อเลียนทางการเมือง แต่เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากความบังเอิญโดยแท้จริง ในการยิง Facebook ads. ในช่วงเวลาที่เกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งทางแบรนด์ได้ตระหนักถึงความผิดพลาดครั้งนี้ และขอน้อมรับผิดทุกประการ และจะนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนสำคัญ ให้กับทางทีมที่ดูแลสื่อออนไลน์ ให้มีความตระหนักถึงเหตุการณ์อันไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
ทางแบรนด์ขอชี้แจงว่า โปเตโต้ คอร์เนอร์ ประเทศไทย สนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย และเราขอขอบคุณทุกคนรวมถึงเสียงทางสื่อออนไลน์ทั้งหมดเป็นอย่างสูง ที่ได้ทำให้แบรนด์ได้ทราบถึงเหตุการณ์ข้อผิดพลาดหนักครั้งนี้ได้อย่างทันที เพื่อเร่งหาข้อแก้ไข
ทั้งนี้ ทางแบรนด์ขอยืนยันอีกครั้งว่า เราให้ความสำคัญ เคารพและสนับสนุนสิทธิทางประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ และไม่มีนโยบายในการใช้สถานการณ์ที่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงที่ไม่ถูกต้องมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดอย่างแน่นอน และทางแบรนด์ได้แก้ไข ลบและหยุดโพสต์ดังกล่าวทันทีแล้ว
ขอแสดงความเสียใจและกราบขออภัยเป็นอย่างสูงอีกครั้งหนึ่งครับ”
อัยการสั่งฟ้อง ‘แกนนำม็อบราษฎร’ ผิด ม.112-ม.116 ปมชุมนุม 19-20 ก.ย.
อัยการสั่งฟ้อง แกนนำม็อบราษฎร ให้มีความผิด ม.112 และ ม.116 จากการชุมนุมประท้วงที่ มธ.ท่าพระจันทร์และสนามหลวง เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 7 ได้สั่งฟ้อง ผู้ต้องหาซึ่งเป็นแกนนำม็อบราษฎรร่วม 18 คน ในคดีการชุมนุมเมื่อวันที่ 19-20 กันยายน ที่ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และสนามหลวง ความผิด ม.112 และ ม.116
โดยแกนนำ 3 คนที่ถูกข้อหา ม.112 ได้แก่ รุ้ง หรือ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, ไผ่ ดาวดิน หรือ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และ ไมค์ นายภาณุพงศ์ จาดนอก
ส่วนแกนนำอีก 15 ถูกตั้งข้อหา ม.116 และ ม.215 ที่ว่าด้วยการชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ซึ่งแกนนำ 15 คนได้แก่
1.นายอรรถพล บัวพัฒน์ 2.นายชินวัตร จันทร์กระจ่าง 3.นายชูเกียรติ แสงวงศ์ 4.นายณวรรษ เลี้ยงวัฒนา 5.นายณัทพัช อัคฮาด 6.นายธนชัย เอื้อฤาชา 7.นายธนพ อัมพะวัต 8.นายธานี สะสม 9.ภัทรพงศ์ น้อยผาง 10.นายสิทธิ์ทัศน์ จินดารัตน์11.นายสุวรรณา ตาลเหล็ก 12.นายอดิศักดิ์ สมบัติคำ 13.นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ 14.นายณัฐชนน ไพโรจน์
และ 15.นายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ หรือ “แอมมี่ The Bottom Blues” ที่ถูกจับกุมและฝากขังจากคดีเหตุวางเพลิงพระบรมฉายาลักษณ์ ด้านหน้าเรือนจำกลางคลองเปรม เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ทางอัยการยังได้สั่งค้านประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 18 คน และนำตัวส่งศาลต่อไป
แนะนำ : รีวิวหนังไทย | คู่มือพ่อแม่มือใหม่ | แม่และเด็ก | เรื่องผี | แคคตัส กระบองเพชร